Thai-art-

ประวัติศาสตร์ศิลปะที่คนไทยควรภูมิใจ

ความโชคดีของคนไทย คือเรามีเอกลักษณ์ความเป็นไทยอย่างชัดเจน ซึ่งสร้างความภาคภูมิใจให้กับคนในชาติ ด้วยเพราะประเทศไทยเป็นชาติที่มีศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีมาอย่างยาวนาน นักประวัติศาสตร์ศิลปะกล่าวว่าศิลปะไทยน่าจะมีมาตั้งแต่ราวสมัยพ.ศ.300 โดยเข้ามาทางพระพุทธศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อศิลปะของไทยทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรม ภาษา ศิลปกรรม เราสามารถเห็นตัวอย่างได้ศิลปะในสมัยต่างๆ เช่น ศรีวิชัย ทวาราวดี ลพบุรี เมื่อชาติไทยได้มีการรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ศิลปะเหล่านี้ก็กลายเป็นศิลปะไทยนั่นเอง

ซึ่งลักษณะของศิลปะไทยจะเน้นรูปแบบที่มีความเฉพาะตัว อ่อนช้อย ละเมียดละไม แต่ก็ยังแฝงไปด้วยวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตของคนไทยไว้อย่างเหมาะเจาะลงตัว โดยเราจะเห็นได้จากภาพตัวอย่างตามฝาผนังวัดวาอาราม, ปราสาทราชวัง, เครื่องประดับ และเครื่องใช้ต่างๆ ของชาววัง

ศิลปะไทยส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลมาจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีลักษณะที่เห็นได้ชัด ทั้งความงดงาม อ่อนหวาน นุ่มนวล ละเอียด ประณีต และยังสามารถให้เห็นถึงนิสัยใจคอจิตในของคนไทยได้เป็นอย่างดี ยิ่งถ้าเป็นงานศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาด้วยแล้ว จะทำให้ช่วยส่งเสริมพระพุทธศาสนา เชื่อมโยงจิตใจของคนในชาติให้เกิดความศรัทธาและเลื่อมใส

Thai-art

ภาพลายไทย คือภาพที่ช่างภาพได้ประดิษฐ์ขึ้นด้วยการใช้ธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจ นำมาดัดแปลงให้เกิดลวดลายใหม่ที่สวยงามและมีสีสันที่แปลกตา เช่น ลายก้ามปู รวงข้าว เปลวไฟ ดอกบัว และตาอ้อย เริ่มแรกลายไทยถูกเรียกว่า กระหนก ซึ่งก็คือลวดลาย ได้แก่ กระหนกก้านขด กระหนกลาย หลังจากนั้นก็ได้ถูกเปลี่ยนมาใช้คำว่า กนก ตามหลักฐานชี้ว่า กระหนกน่าจะเป็นคำตั้งแต่สมัยโบราณในยุคทราวดี และเรียกติดต่อกันมาเรื่อยๆ วัตถุประสงค์ของการเขียนภาพลายไทยก็เพื่อนำภาพมาเล่าเรื่องให้ผู้รับชมภาพเข้าใจ พร้อมสัมผัสสุนทรียภาพของความงดงาม งานศิลปกรรม

ในปัจจุบันนี้ “ศิลปะไทย” กำลังถูกอิทธิพลของเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ โดยเฉพาะโลกของสื่อโซเชียลที่ใช้โทรศัพท์เป็นสื่อกลางกำลังก้าวล้ำยุคไปมาก จนสามารถเห็นข้อแตกต่างได้อย่างชัดเจนระหว่างศิลปะไทยยุคเก่ากับยุคใหม่ โลกในยุคที่อะไรก็ทันสมัยไปเสียหมดทำให้บางครั้งคนไทยก็ลืมความเป็นตันตนของชาติ และส่งผลให้เกิดความสับสนในสังคมไทยอย่างไม่ทันรู้ตัว ฉะนั้นหากคนไทยด้วยกันเองไม่พยายามที่จะรักษาหรืออนุรักษ์ศิลปะไทยเอาไว้ อนาคตข้างหน้าลูกหลานของเราอาจจะลืมเลือนความเป็นไทยไปเสียหมด และรับเอาอิทธิพลต่างชาติเข้ามาแทนที่ และเมื่อนั่นเราก็จะสูญเสียความภาคภูมิใจที่บรรพบุรุษของเราสร้างมา

Abstract-art

ศิลปะนามธรรม ใช้ความรู้สึกมากกว่าสายตา

ศิลปะนามธรรม หรือ Abstact Art เป็นศิลปะที่เข้าถึงได้ยาก ไม่มีหลักการชมภาพตายตัว สามารถตีความหมายได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของคนชมภาพว่าในขณะนั้นมีอารมณ์ไหน ศิลปินที่วาดภาพแนวนี้จะมีมากมาย หรือบางครั้งเรียกได้ว่าเป็นลัทธิหนึ่งเลยก็ได้ เพื่อให้การชมภาพได้ชัดเจนขึ้น ลองมาดูตัวอย่างของรูปแบบการวาดภาพของศิลปินแนวศิลปะนามธรรมกันดู

  1. รูปทรงเลขาคณิต

การวาดรูปแนวทรงเลขาคณิตจะเน้นไปทางจัดองค์ประกอบ สัดส่วน ให้ดูมีสมมาตรกัน หรือจะไม่สมมาตรก็ได้ จึงทำให้นำไปประยุกต์กับงานอื่นได้ไม่ยาก นั่นเป็นเพราะศิลปะนามธรรมรูปทรงเลขาคณิตมีความเรียบง่าย ไม่ต้องใช้จินตนาการในการชมมากเท่าไหร่ เมื่อมองแล้วทำความเข้าใจได้ทันที มักจะถูกนำไปเป็นต้นแบบสร้างสรรค์ผลงานได้หลายด้าน เช่น แฟชั่น สถาปัตยกรรม หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นต้น

  1. รูปทรงอิสระ

ศิลปะนามธรรมแนวนี้จะไม่มีองค์ประกอบตายตัวมากนัก แล้วแต่จิตนาการของศิลปินที่จะวาดสื่อให้ผู้ชมภาพตีความหมายตามความเข้าใจ จะเน้นลักษณะที่ตื่นตาตื่นใจมากกว่ารูปทรงเรขาคณิต มีความซับซ้อน เมื่อชมในครั้งแรกจะรู้สึกแปลกตา หรือมองว่าไม่สมประกอบ ไม่สามารถอธิบายได้ว่าภาพที่เห็นคือรูปอะไร มีความหมายอย่าไร ทุกอย่างคือการมีอิสระต่อกัน

  1. แบบ Minimalist

แนวนี้จะไม่เน้นการใช้ภาพวาดที่เป็นรูปทรง แต่จะเป็นการใช้สีสดๆ ทาลงไปบนภาพ คล้ายๆ กับการทำภาพพื้นหลัง มองภายนอกเหมือนภาพจะดูไม่มีอะไรเพราะเป็นการวาดสีลงไป และใช้เส้นตรงขีดคั้นไว้ทั้งแนวตั้งหรือแนวนอน ความน่าสนใจของภาพอยู่ที่ศิลปินกล้าวาดสีลงไป ซึ่งแสดงออกถึงความตรงไปตรงมาในการแสดงผลงาน แถมสีที่ใช้วาดลงไปยังบอกเล่าความรู้สึกของศิลปินในตอนที่วาดได้ เช่น หากใช้สีสันสดใส แสดงถึงช่วงอารมณ์ที่มีความสุข สดใส

  1. แบบซับซ้อน

ลักษณะของงานงานแนวนี้จะมีความสลับซับซ้อน ไม่มีการวางระเบียบแบบแผนที่แน่นอน ใช้สีสันให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่เน้นการจัดวางองค์ประกอบ สัดส่วน มองแล้วอาจดูไม่สวยงามเสียเท่าไหร่ แต่ส่งผลทางด้านอารมณ์ที่ดูรุนแรง เพราะใช้เทคนิคการวาดทั้งการเทสี สลัดสี สาดสี และหยดสี หรือสรุปสั้นได้ว่าเป็นการวาดตามอารมณ์ของศิลปินนั่นเอง

ผลงานศิลปะนามธรรมทั้ง 4 แบบนี้เป็นแค่ตัวอย่างที่พอจะสื่อให้เห็นว่าความหมายที่แท้จริงของศิลปะนามธรรมคือ การสร้างสรรค์โดยใช้จินตนาการ ความรู้สึก อารมณ์ และไม่มีองค์ประกอบที่เด่นชัด แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถนำศิลปะนามธรรมนี้ไปต่อยอดผลงานด้านอื่นๆ ได้อีกมากมาย

Contemporary-art

หากคุณมีจิตวิญญาณก็เข้าถึงศิลปะร่วมสมัย

ความหมายของศิลปะร่วมสมัยอาจมีความหมายได้กว้างๆ แต่สามารถสรุปสั้นๆ ได้ว่า คืองานศิลป์ที่ควบคู่กับวิถีชีวิตในยุคใหม่ ไม่มีจุดศูนย์กลางที่แน่นอน ไม่มีกฎตายตัว ใครอยากทำอะไรก็ได้ จึงทำให้เกิดศิลปะที่หลากหลาย ทั้งการใช้ตัวเองเป็นศิลปะ หรือ Photoshop เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วจะมีอิทธิพลมาจากสังคมตะวันตก แต่ในไทยเองจะเป็นการนำรูปแบบมาผสมผสาน เรียกว่า ไทยประยุกต์

ฉะนั้นจึงสามารถสรุปสั้นๆ ได้ว่า ศิลปะร่วมสมัย ก็คือการนำแนวคิวของศิลปะสมัยก่อน นำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในด้านงานศิลป์อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ดูมีความทันสมัย เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยในปัจจุบัน แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์และแนวคิด ตลอดทั้งรูปร่าง ตามขั้นตอนเดิมไว้อย่างไม่ผิดเพี้ยน หรือเรียกง่ายๆ ก็คือการนำศิลปะสมัยเก่ามาทำให้ดูเป็นปัจจุบันมากขึ้นนั่นเอง

ศิลปะร่วมสมัยที่สามารถยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดๆ มีดังนี้

  1. การนำศิลปะโรโคโคมาอันมีลวดลายวิจิตรสุดหรูมาประกอบทำเป็นลวดลายกระดาษ หรือผืนผ้า เพื่อนำไปต่อยอดในงานศิลปะประเภทอื่นๆ ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ที่ชื่นชอบงานศิลปะเป็นอย่างมาก
  2. นำเทคนิคศิลปะการแต้มสีแบบ Impressionism มาใช้วาดภาพทิวทัศน์ของเมืองของกรุงเทพมหานคร ทำให้ได้ภาพเมืองหลวงที่ดูสวยแปลกตา ซึ่งภาพจะออกมาแนวไหนนั้นขึ้นอยู่กับมุมมองของนักวาดภาพที่จะสื่อออกมาให้กับคนดู

Contemporary-art-

วัตถุประสงค์ของศิลปะร่วมสมัย มี 3 ประเภทด้วยกัน คือ

  1. แสดงความงดงาม : จุดหมายผลงานให้เกิดความงดงาม โดยยังคงยึดแก่นแท้ของศิลปะเอาไว้ ซึ่งก็คือ ความงาม แต่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้อยู่เสมอ ขึ้นอยู่กับมาตรฐานความงามของแต่ละประเทศที่อาจมีความแตกต่างกันออกไป
  2. แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก: คล้ายๆ กับการนำอารมณ์ของศิลปินมาระบายออกทางงานศิลปะ จึงเปรียบได้กับวิถีในการใช้ระบาย ปลดเปลื้อง หรือนำแรงกดดันมาขับเคลื่อนให้กลายเป็นพลังในการสร้างสรรค์ผลงานให้ออกมาดีพร้อมครบองค์ประกอบ
  3. แสดงออกทางความคิด : เป็นการนำศิลปะมาใช้เป็นเครื่องมือแสดงออกถึงความหมายของชีวิตและสังคมโลก เพื่อช่วยจิตใจของมนุษย์สูงขึ้น ด้วยการนำศิลปะมาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมสังคมให้ดีขึ้น รวมทั้งการนำอักษรมาผสมกับรูปภาพเพื่อสื่อภาษาภาพออกมาได้อย่างชัดเจน

ศิลปะร่วมสมัยเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เรื่อยมา หรือช่วงประมาณศตวรรษที่ 20 แต่ก็ยังไม่สามารถแบ่งช่วงเวลาที่ชัดเจนได้เพราะยังเกิดข้อขัดแย้งของนักประวัติศาสตร์ศิลปะอยู่ โดยตัวอย่างของงานศิลปะยุคร่วมสมัย คือ Abstract expressionism, Pop art, Modern Art, Post modern, Abstract art, Modern art, Media art และ Multimedia เป็นต้น