Académie-pic

ยุคสมัยการเริ่มต้นการจัดงานแสดง

งานนิทรรศการนี้มีขึ้นในตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แต่ในช่วงก่อนหน้านี้ก็มีการจัดแสดงเล็ก ๆ น้อย ๆ แบบไม่เป็นทางการทั่วไป ในสมัยนั้นเป็นยุคที่ศิลปะกำลังรุ่งเรือง มีศิลปินมากมายที่สร้างสรรค์ผลงานไม่หยุดหย่อน และพวกเขาต้องการสถานที่ในการนำเสนอผลงานของพวกเขา อย่างเช่นงาน Paris Salon ที่จัดขึ้นในอาคาร Académie des Beaux-Arts ซึ่งถือเป็นตัวอย่างงานที่มีชื่อเสียงในขณะนั้น โดยเริ่มต้นโครงการครั้งแรกในปี 1667 และเปิดเป็นสาธารณะในปี 1737 และในปี 1769 ก็ได้มีการจัดงานนิทรรศการใหญ่ Royal Academy Summer Exhibition ขึ้นในกรุงลอนดอน

บ่อยครั้งที่สถาบันในอังกฤษก็ออกมาจัดงานของตัวเองเป็นครั้งคราว ในช่วงปี 1805 จนถึง 1867 โดยปกติจะจัดปีละสองครั้งโดยมีภาพเขียนใหม่ ๆ จากศิลปินอังกฤษมาจัดแสดง รวมถึงภาพวาดที่มีชื่อเสียงที่ไปยืมมาจากหลาย ๆ แห่ง รวมถึงจิตรกรรมสมัยโบราณ (old master) ที่ไปยืมมาจากคลัง Royal Collection ที่เป็นสถานที่เก็บภาพวาด ประติมากรรมเก่าแก่มากมายจากผู้มีอำนาจ ขุนนาง

Beaux-Arts

ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งใหม่ของยุโรปได้ถูกสร้างขึ้น และได้จัดงานนิทรรศการของตนเองจากผลงานคอกเลกชั่นของพวกเขา รวมถึงจากที่ยืมมาหลาย ๆ แห่ง ซึ่งเป็นที่นิยมทำกันจนถึงทุกวันนี้ แต่เมื่อพูดถึงงานระดับประเทศอย่าง World Expo หรือ World Fair นั้น มันมีจุดเริ่มต้นมาจากงานแสดงใหญ่ในกรุงลอนดอนปี 1851 ที่จัดขึ้นประจำปี และที่น่าสนใจก็คือหอไอเฟลที่ปารีส ที่สร้างขึ้นมาเพื่องาน Exposition Universelle ปี 1889 โดยเฉพาะ และมันถูกใช้เป็นที่จำหน่ายตั๋วเข้างานอีกด้วย

สำหรับงานนิทรรศการในปัจจุบันนี้นั้น ล้วนแล้วแต่นำผลงานเก่าแก่ที่เคยแสดงกลับมาวางโชว์ใหม่ เพื่อเป้าหมายในการศึกษา และดึงดูดความสนใจต่อสาธารณะชนเป็นหลัก ประติมากรรมชิ้นหนึ่งอาจดึงดูดผู้คนได้มากมาย ปัจจุบันนี้ยังคงมีข้อถกเถียงกันอย่างมากถึงรูปแบบการจัดงานที่เหมาะสมของงานนิทรรศการสมัยใหม่ ว่าควรมีมาตราฐานอย่างไร โดยส่วนใหญ่แล้วจะสามารถแบ่งออกได้เป็นสองชนิดหลัก ๆ ชนิดแรกก็คืองานแสดงที่เน้นเป้าหมายเพื่อการศึกษา ชนิดที่สองเป้าหมายคือการดึงดูดประชาชน ผู้ชม และนักท่องเที่ยว

ในยุคสมัยใหม่ที่โลกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีนี้ เปิดโอกาสให้เราสามารถใช้อินเตอร์เน็ตในการเข้าร่วมงานแสดงออนไลน์บนคอมพิวเตอร์ ผ่านการนำทัวร์ด้วยการถ่ายทอดสดผ่านวีดีโอออนไลน์ทั่วโลก ทำให้ผู้คนที่อยู่ห่างไกลมีโอกาสเข้าถึงงานมากขึ้น ซึ่งบางงานอาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม หรืออาจไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้จัดงานว่ากำหนดไว้อย่างไร แต่ถึงอย่างไรบรรยากาศที่ได้ก็ไม่เหมือนกับที่เราได้ไปเห็นกับตาจริง ๆ หรอก

Pulitzer-Arts

มูลนิธิพูลิตเซอร์เพื่อศิลปะ

มูลนิธิพูลิตเซอร์เพื่อศิลปะ (Pulitzer Arts Foundation) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีสถานที่ตั้งอยู่ในเมืองเซนต์หลุยส์รัฐ มิสซูรี เปิดทำการให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชมครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2544 โดยมีอาคารขนาดใหญ่ที่ออกแบบอย่างเรียบง่าย แต่มีความสวยงามอย่างมาก โดยเป็นผลงานการออกแบบของสถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ Tadao Ando มูลนิธิพูลิตเซอร์ตั้งอยู่ที่ Grand Center Arts District (โดยอยู่ระหว่าง Grand Boulevard และ Spring Avenue)

มูลนิธิแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นโดย Emily Rauh Pulitzer โดยรวมกับสามีของเธอ Joseph Pulitzer Jr เดิมทีพวกเขาต้องการสร้างพื้นที่สำหรับเก็บผลงาน และคอลเลิกชั่นส่วนตัว และอาคารขนาดใหญ่แห่งนี้จะมาแก้ปัญหานี้ให้แก่พวกเขา โดย Pulitzer ได้ติดต่อไปยัง Tadao Ando สถาปนิกที่มีชื่อเสียงของประเทศญี่ปุ่น ในช่วงต้นปี 1990 เพื่อมอบหมายให้เขาปรับปรุงโรงงานผลิตรถยนต์ และโชว์รูมที่ถูกทิ้งร้างในย่านบันเทิงแกรนด์เซ็นเตอร์ของเซนต์หลุยส์

ในระหว่างขั้นตอนการออกแบบโครงการ Joseph Pulitzer Jr ก็ได้จากโลกนี้ไปอย่างกระทันหัน ทำให้โครงการทั้งหมดหยุดชักงัก จนกระทั่ง Emily Rauh Pulitzer ได้นำโรงการนี้กลับมาปัดฝุ่นใหม่เพื่อใช้เป็นสำนักงานมูลนิธิในปี 1993 และได้ติดต่อกลับไปยัง Ando เพื่อแจ้งให้ทราบว่าจะลื้อฟื้นโครงการนี้ขึ้นมา โดยที่เขาจะได้รับอนุญาติให้สร้างอาคารสาธารณะแห่งแรกของเขาในสหรัฐอเมริกา

pulitzer

เมื่ออาคารได้ถูกสร้างเสร็จและเปิดตัวพร้อมกับงานนิทรรศการอย่างยิ่งใหญ่ในเดือนตุลาคม ปี 2001 และมีการเลือกผลงานจากคอลเล็กชันส่วนตัวของพูลิตเซอร์รวมถึงงานศิลปะทรงคุณค่าต่าง ๆ ของศิลปินที่มีชื่อเสียงรอบโลกหลายท่าน อย่าง Pablo Picasso, Roy Lichtenstein, Mark Rothko และศิลปินคนอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีความใจ้กว้างเปิดโอกาสให้ศิลปินคนอื่น ๆ จัดแสดงผลงานร่วมในอาคารใกล้เคียงอีกด้วย

Tadao Ando เป็นผู้ที่มีความสามารถ ที่เคยชนะรางวัล Pritzker Architecture Prize ในปี 1995 อาคารนี้ถูกสร้างให้มีความโดดเด่นด้วยความประสบการณ์อันยาวนานของ Ando ที่สามารถใช้องค์ประกอบทางธรรมชาติเช่นแสง และน้ำ ตลอดจนการใช้ความเรียบง่ายของคอนกรีตให้ออกมาดูสวยงามที่สุด โดยการก่อสร้างถูกเขาควบคุมทุกขั้นตอนทำด้วยเทคนิคการก่อสร้างขั้นสูง ที่ไม่เคยพบเห็นโดยคนทั่วไปในสหรัฐอเมริกา แต่ผลที่ได้นั้นก็ออกมาสมบูรณ์แบบจนไร้ที่ติ

โดยเป็นเวลากว่า 14 ปีที่พวกเขาดำเนินงานภายใต้ชื่อมูลนิธิพูลิตเซอร์เพื่อ ศิลปะ (The Pulitzer Foundation for Arts) ตั้งแต่ปี 2001 ถึง 2014 พวกเขาได้นำผลงานที่ทรงคุณค่ามาจัดเก็บดูแล และจัดแสดงในอาคารแห่งนี้ ปัจจุบันพวกเขายังคงตามเก็บสะสมศิลปะล้ำค่า เช่นพวกภาพวาดเก่าแก่ต่าง ๆ เพื่อนำมาเก็บรักษาเพื่อให้คนรุ่นหลังได้สามารถเรียนรู้ได้จากมันในอนาคต

Sculpture-monk

ประติมากรรมพระเมรุมาศงดงามล้ำค่า

พระเมรุมาศนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยส่งให้พ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ของเราสู่สรรคคาลัย ทำขึ้นมาจากพลังของช่าง 10 หมู่ เต็มไปด้วยประติมากรรมงดงาม ล้ำค่า เพื่อให้สมแก่พระเกียรติยศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร หรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ โดยประกอบไปด้วยบุษบกจำนวน 9 ยอด ซึ่งถูกรับมอบงานโดนกรมศิลปากรที่ใช้บุคลากรยอดฝีมือกว่าร้อยชีวิจ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่วิจิตรตระการตา
โดยรอบพระเมรุมาศนั้นเต็มไปด้วยประติมากรรมรูปปั้นเทวดา ยักษ์ สัตว์หิมพานต์ที่ถูกสรรค์สร้างขึ้นมาโดยช่างปั้นของกรมศิลปากร ที่ใส่ทั้งใจ และวิญญาณของช่างลงไป ทำให้ชิ้นดูราวกับว่ามีชีวิตจริง โดยเราจะพบเห็นรูปปั้นเหล่านี้ได้ทั่วรอบตัวอาคารพระเมรุมาศ รวมถึงในด้านล่างที่ทำเป็นสระน้ำจำนวน 7 สระ ซึ่งจะประกอบไปด้ววยรูปปั้น กินร นาคปักษิณ พญานาค นาคา ช้าง (วารีกุญชร กรินทปักษา คังไคยหัตถี) โค (ปักษาคาวี โคกบิล โคหา โคอุสุภราช) ไกสรราชสีห์ (คชสีห์ กาฬสีหะ ติณสีหะ สกุณไกรสร)

Sculpture
นอกจากนี้ก็ยังมีงานที่จิตอาสาที่เข้ามาร่วมอย่างเช่นการขนย้ายสิ่งของ การดูแลความเรียบร้อย บางคนก็แทบทำงานกันไม่ได้หลับไม่ได้นอนจนเป็นลมกันก็มี แต่ถือว่าทุกคนมีส่วนรวมช่วยกันในการสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นการส่งพ่อหลวงครั้งสุดท้ายให้มีความสมพระเกียรติยศที่สุด ถือเป็นช่วงเวลาที่น่าภูมิใจที่คนไทยมีความสามัคคีกันช่วยให้งานสำเร็จไปด้วยล่วงด้วยดี
และนอกเหนือจากนี้ก็ยังมีช่างส่วนอื่น ๆ ที่แบ่งไปตามหน้าที่ของช่าง 10 หมู่ ที่มีกลุ่มช่างยอดฝีที่เชี่ยวชาญด้านประติมากรรมและศีลปะของไทย โดยแบ่งออกได้หลายวิชาชีพ เช่นช่างรัก ช่างมุก ชางปั้น ช่างหล่อ ช่างกลึง ชางหยก ชางดีบุก และช่างอื่น ๆ อีกมากมายที่ไม่ใช่มีเพียง 10 ช่างเท่านั้น สาเหตุที่ใช้ขื่อช่าง 10 หมู่ โดยไม่เปลี่ยนนั้นก็คือเป็นคำที่ติดหู และรู้จักกันดีอย่างแพร่หลายในประเทศไทย
จึงไม่แปลกที่เหล่าช่างจะได้รับหน้าที่สร้างพระเมรุมาศอันเป็นงานสุดยิ่งใหญ่ที่ชีวิตหนึ่งจะได้ทำ ทุกคนจึงทุ่มเททั้งแรงกาย และแรงใจไม่หลับไม่นอนทำงานกันต่อเนื่องตลอดทั้งวันทั้งคืน เพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ในขณะที่เราคิดภาพท่านทรงงานไม่หยุดหย่อน ซึ่งเรานั้นเทียบไม่ได้เลยกับสิ่งที่พ่อนั้นได้ทำให้ คือความรู้และความสามัคคี ที่ได้มอบเป็นมรดกที่สำคัญสืบต่อชั่วลูกชั่วหลาน